วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

อาหารพื้นเมือง


          1.ไส้อั่ว  คำว่า อั่ว หมายถึง แทรก หรือยัดไว้ตรงกลาง ไส้อั่ว จึงหมายถึงไส้ที่มีการนำสิ่งของยัดไว้ การทำไส้อั่ว นิยมใช้ไส้หมูและเนื้อหมู การทำไส้อั่ว เป็นวิธีการถนอมอาหาร ให้สามารถรับประทานได้นานขึ้น คือประมาณ 1-2 วัน แต่ถ้าเก็บไว้ในที่เย็น หรือปัจจุบัน มีการบรรจุถุงแบบสูญญากาศ ก็เก็บไว้ได้นานมากยิ่งขึ้น การทำให้ไส้อั่วสุก จะใช้วิธีปิ้ง หรือทอดก็ได้





         
               2. น้ำพริกหนุ่ม คือพริกหนุ่ม คือพริกสดที่ยังไม่แก่จัด น้ำพริกหนุ่ม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป มีจำหน่ายแพร่หลายแก่นักท่องเที่ยว นิยมซื้อเป็นของฝาก รับประทานกับแคบหมู บางสูตรใส่ปลาร้าสับ และกะปิห่อใบตองย่างไฟ บางสูตรใส่น้ำปลากับเกลือ แล้วแต่ชอบ





         
            3.น้ำพริกอ่อง นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆ กับน้ำพริกหนุ่ม ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือมีสีส้มของสีมะเขือเทศและพริกแห้ง ที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้  บางสูตร ผัดหมูก่อนแล้ว จึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศภายหลัง บางสูตร โขลกเนื้อหมู เครื่องปรุงและมะเขือเทศให้เข้ากันก่อน จึงนำไปผัดกับน้ำมันพืช




           
            4. แคบหมู  คือแคบหมู เป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวล้านนา ใช้รับประทานร่วมกับอาหารอื่นๆ เช่น น้ำพริก ขนมจีนน้ำเงี้ยว ใช้เป็นส่วนผสมในการตำน้ำพริก หรือแกง เช่น แกงบอน แกงผักตำลึง (แกงผักแคบ) แกงหน่อไม้ แคบหมูมีทั้งชนิดติดมัน และไม่ติดมัน ที่เรียกกันว่า แคบหมูไร้มัน ชาวล้านนาดั้งเดิม นิยมรับประทานแคบหมูเป็นอาหาร มากกว่าเป็นเครื่องแนม




         
            5. แกงขนุน คือ  แกงขนุน หรือ แกงบ่าหนุน ถือว่าเป็นแกงที่มีชื่อเป็นมงคล บางท่านนิยมแกงกินในงานแต่งงาน เพื่อเป็นเคล็ดว่าให้คู่แต่งงานนั้นมีความเกื้อหนุนจุนเจือต่อกัน และในวันปากปี คือหลังวันเถลิงศก (วันพญาวัน) หนึ่งวัน บางแห่งนิยมใส่ข่า ตะไคร้ทุบ และอาจมีจักข่าน (สะค้าน) บ่าแขว่น (ผลกำจัด) โขลกใส่ลงไปในแกงด้วย





             

         
              6.แกงอ่อม  คือ    เป็นแกงประเภทที่ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมหลัก เช่น ปลา เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อไก่ นอกจากเนื้อแล้ว นิยมใส่เครื่องในสัตว์เป็นส่วนผสมด้วย เรียกชื่อตามส่วนผสมหลัก ได้แก่ แกงอ่อมไก่ แกงอ่อมปลา แกงอ่อมเนื้อ (แกงอ่อมจิ๊นงัว แกงอ่อมจิ๊นควาย) แกงอ่อมหมู (แกงอ่อมจิ๊นหมู) บางก็แกงอ่อมเฉพาะเครื่องใน เช่น แกงอ่อมเครื่องในวัว แกงอ่อมเครื่องในควาย





         
         7.แกงฮังเลหมู คือ  แกงฮังเลมี 2 ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่า สำหรับแกงฮังเลเชียงแสนจะแตกต่างตรงที่มีถั่วฝักยาว มะเขือยาว พริกสด หน่อไม้ดอง งาขาวคั่ว เพิ่มเข้ามา และใช้เป็นส่วนผสมของแกงโฮะ








           
           8.แอ็บปลา  คืออาหารที่ปรุงด้วยการนำปลาสด เช่น ปลาช่อน ปลาดุก มาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง เช่นเดียวกับแอ็บอ่องออ แอ็บกุ้ง แล้วนำไปปิ้งหรือย่าง ด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก




ข้อมูลเพิ่มเติม




             ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทาง
              จากตัวเมืองเชียงรายไปอ.แม่สรวย






     ผู้จัดทำโดย
นางสาวปาณิสรา ฤทธิ์ถิ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
สาขาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

ศิลปวัฒนธรรม / ประเพณี ของชาวอำเภอแมสรวย

ประเพณีและวัฒนธรรมของคนเมืองและชนเผ่าที่อยู่ใน  อำเภอแม่สรวย

วัฒนธรรม
ในพื้นที่อำเภอแม่สรวยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมากอันเนื่องมาจาก มีชนเผ่าต่าง ๆ หลายเผ่าพันธ์ ประชากรพื้นราบส่วนใหญ่จะเป็นคนพื้นเมือง มีความสัมพันธ์ภายในครอบครัวอย่างแน่นแฟ้น มีภาษาพูดซึ่งเรียกว่า “ภาษากำเมือง” เป็นเอกลักษณ์ของคนทางเหนือ มีประเพณีที่สำคัญ เช่น ประเพณีลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ประเพณีแห่เทียนพรรษา และนอกจากนี้มีประเพณีที่สำคัญของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในอำเภอแม่สรวย เช่นประเพณีโล้ชิงช้าของชาวเขาเผ่าอีก้อ ประเพณีกินวอของชาวเขาเผ่าลาหู่(มูเซอ) เป็นต้น
การดำเนินงานด้านวัฒนธรรมในพื้นที่อำเภอแม่สรวยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนในพื้นที่
วัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของชนเผ่าต่าง ๆ ควรที่จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้เป็นจุดขายเรื่องการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ

https://sites.google.com/site/land4salesinmaesuay/khxmul-xaphex-maesrwy-canghwad-cheiyngray




  • ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆของชาวอาข่า

         วิถีชีวิตที่ดำเนินมานานกว่า  2,700  กว่าปี  แม้อาข่าไม่มีภาษาเขียน  แต่มีพิธีกรรมและประเพณี  ที่อาข่าเรียกว่า แดะย้อง ซี้ย้อง” Daevq Zanr Xir Zanr ไม่น้อยกว่า 21 พิธีกรรม เป็นเครื่องมือดำรงชีพ มีสุภาษิต คำสอน   เรียกว่า อ่าข่า ด่อด่า” Aqkaq Dawq daq  มี กฎระเบียบข้อบัญญัติ (กฎหมาย) เรียกว่า ย๊อง” Zanr   ซึ่งทั้งหมดเป็นที่มาของการมี ศาสนา ที่เรียกว่า  อ่าข่าย๊อง”Aqkaq Zanr  ถือเป็น คัมภีร์ ของชนเผ่าอาข่า โดยมี ความเชื่อ ที่เรียกว่า นือ จอง” Nee Jan และนับถือองค์เทพต่างๆ  หลายองค์ อาทิเช่น เทพแห่งดิน เทพแห่งน้ำ  เทพแห่งภูเขา  ฯลฯ  โดยมีองค์เทพสูงสุดเรียกว่า อ่าเผ่ว หมี่แย้” Aq Poeq Miq Yaer   เป็นที่เคารพกราบไหว้บูชามาจนถึงปัจจุบัน   

         ประเพณีของชนเผ่าอาข่ามีความผูกพันเกี่ยวโยงกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแทบทั้งสิ้น ประเพณีที่เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป ได้แก่ ประเพณี ขึ่มสึ ขึ่มมี้ อ่า เผ่ว” (Khmq seevq khmq mir aq poeq) หรือประเพณีชนไข่แดงเป็นส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ และยังเป็นวันคล้ายวันเด็กของอาข่าอีกด้วย   มีขึ้นในช่วงกลางเดือนเมษายน ประเพณี แย้ ขู่ อ่าเผ่ว” (Year  kuq  aq poeq)  หรือประเพณีโล้ชิงช้าเป็นการเฉลิมฉลองและขอพรจากเทพเจ้าให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ มีขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ประเพณีคะ ท๊อง อ่าเผ่ว”( Kar tanr aq poeq) หรือ ปีใหม่ลูกข่างคือพิธีเฉลิมฉลอง การเปลี่ยนฤดูกาลทำมาเลี้ยงชีพ มีขึ้นเป็นประจำทุกเดือนธันวาคมของทุกปี
มรดกทางวัฒนธรรม

         ชนเผ่าอาข่าเป็นชนเผ่าหนึ่งที่มีมรดกทางวัฒนธรรมที่ดีงามและมีคุณค่า ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ในรูปแบบของแนวคิดและแนวทางปฏิบัติ มากมาย เช่น ศาสนสถาน โครงสร้างการปกครอง  ความเชื่อในการจัดตั้งชุมชน การสร้างบ้านเรือน การเลือกพื้นที่เพาะปลูก การเลือกคู่ครอง กระบวนการผลิตเครื่องนุ่งห่ม ศิลปะการแสดง ศิลปะในการปรุงอาหาร การรักษาและบำบัดโรคด้วยสมุนไพรและพิธีกรรม ภาษา และการแต่งกาย ฯลฯ โดยมีการสืบทอดถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามวิถีชีวิต
แหล่งที่มา :

            สมาคมเพื่อการศึกษาและวัฒนธรรมอาข่าเชียงราย, ศูนย์พิพิธภัณฑ์ชาวเขา, สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย


ประเพณีโล้ชิงช้าชาวอาข่า

อัพเดทล่าสุด : 22 กันยายน 2558




ประเพณีโล้ชิงช้า หรือ งานเทศกาลปีใหม่โล้ชิงช้าของชาวอาข่า (อีก้อ) จัดขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม 2557 - 30 กันยายน 2557 เป็นการรำลึกถึงพระคุณแห่งเทพธิดา "อึ่มซาแยะ" ผู้ประทานความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเพื่อเป็นการฉลองให้กับพืชผลที่มีความเจริญงอกงามรอเก็บเกี่ยว รำลึกและให้เกียรติสตรี พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ, การเลี้ยงฉลอง, การเต้นรำ ซึ่งแต่ละชุมชนจะไม่ตรงกัน เนื่องจากการกำหนดวันจัดพิธีกรรมต้องดูความเหมาะสมของวันที่จะเริ่มทำพิธี แต่จะต้องเป็นวันดีและเข้ากันได้กับผู้นำชุมชนนั้น ๆ

               ประเพณีโล้ชิงช้า หรืออ่าข่าเรียกว่า "แย้ขู่อ่าเผ่ว" ซึ่งจะมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคม ถึงต้นเดือนกันยายนซึ่งจะตรงกับ ช่วงที่ผลผลิต กำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน ในระหว่างนี้อ่าข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอสำหรับการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอ่าข่าคือ ฉ่อลาบาลาประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอ่าข่า ถือเป็นพิธีกรรมที่มีคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญาที่ใช้ในการส่งเสริมความรู้แล้ว ยังเกี่ยวพันกับการดำรงชีวิตประจำวันของอ่าข่าอีกมากมาย



และหลังจากที่จัดงานประเพณีโล้ชิงช้าเสร็จแล้ว ชุมชนอ่าข่าก็จะไม่มีการตัดไม้ดิบเข้ามาในชุมชนอีก ไม้ดิบในที่นี้คือไม้ยืนต้น หรือไม้ทุกชนิดที่ยังไม่ได้ถูกตัด ยกเว้นกรณีที่มีคนตายแล้วเท่านั้น จึงถือว่าเป็นวันเข้าพรรษาของชาวอ่าข่าอีกเช่นกัน ในการจัดประเพณีโล้ชิงช้าแต่ละปีของอ่าข่า จะต้องมีฝนตกลงมา ถ้าปีไหนเกิดฝนไม่ตก อ่าข่าถือว่าไม่ดี ผลผลิตที่ออกมาจะไม่งอกงาม ประเพณีโล้ชิงช้า มีระยะเวลาในการจัดรวม 4 วันด้วยกัน โดยแต่ละวันมีกำหนดการดังนี้
วันที่ 1" จ่าแบ" 
ผู้หญิงอ่าข่าอาจเป็นแม่บ้านของครัวเรือน หรือถ้าแม่บ้าน ไม่อยู่อาจเป็นลูกสาวไปแทนก็ได้ ก็จะแต่งตัวด้วยชุดประจำเผ่าเต็มยศแล้วออกไปตัดน้ำที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจะนำมาใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาน้ำที่ตักมาจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ อ่าข่าเรียกว่า "อี๊จุอี๊ซ้อ" การเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วของแต่ละครอบครัว และในวันนี้ก็มีการตำข้าวปุ๊ก “ห่อถ่อง” ข้าวปุ๊ก หรือห่อถ่อง คือข้าวที่ได้จากการตำอย่าง ละเอียดโดยก่อน ที่จะตำก็จะนำข้าวสาร (ข้าวเหนียว) แช่ไว้ประมาณ 1 คืน พอรุ่งเช้าก็นำมานึ่ง หลังจากนึ่งเสร็จ หรือได้ที่แล้วก็จะมีการโปรยด้วยน้ำอีกรอบหนึ่ง แล้วก็นึ่งต่อระหว่างที่รอข้าวสุก ก็จะมีการ ตำงาดำผสมเกลือไปด้วย เพื่อไม่ให้ข้าวเหนียวที่ตำติดมือเวลานำมาปั้นข้าวปุ๊กซึ่งต้องใช้ในการทำพิธีเช่นกัน
วันที่ 2 วันสร้างชิงช้า 
เป็นวันที่ทุกคนจะมารวมตัวกันที่บ้านของ “โจว่มา” ผู้นำศาสนา เพื่อจะปรึกษา และแบ่งงานในการจะปลูกสร้างชิงช้าใหญ่ของชุมชน หรืออ่าข่า เรียกว่า “หล่าเฉ่อ” ในวันนี้จะไม่มีการทำพิธีใดๆ ทั้งสิ้น แม้กระทั่งสัตว์ก็จะไม่ฆ่า หลังจากที่สร้างชิงช้าใหญ่ของชุมชนเสร็จ ก็จะมีพิธีเปิดโล้ชิงช้าโดย โจว่มา ผู้นำศาสนา จะเป็นผู้เปิดโล้ก่อน จากนั้นทุกคนก็สามารถโล้ได้ หลังจากที่สร้างชิงช้าใหญ่ของชุมชนเสร็จ ต้องมาสร้างชิงช้าเล็กไว้ ที่หน้าบ้าน ของตนเองอีกเพื่อให้ลูกหลานของตนเล่น ทุกครัวเรือนจะต้องสร้างเพราะถือว่าเป็นพิธี

 วันที่ 3 “วัน ล้อดา อ่าเผ่ว”
วันนี้ถือเป็นวันพิธีใหญ่ มีการเลี้ยงฉลองกันทุกครัวเรือนมีการเชิญผู้อาวุโส หรือแขกต่างหมู่บ้านมาร่วมรับประทานอาหารในบ้านของตน ผู้อาวุโสก็จะมี การอวยพรให้กับเจ้าบ้านประสบแต่ความสำเร็จในวันข้างหน้า
วันที่ 4 “จ่าส่า”
สำหรับในวันนี้จะไม่มีการประกอบพิธีกรรมอะไรทั้งสิ้น นอกจากพากันมาโล้ชิงช้า แต่พอตะวันตกดิน หรือประมาณ 18.00 น ผู้นำศาสนาก็จะทำการเก็บ เชือกของชิงช้า โดยการมามัดติดกับเสาชิงช้า ถือว่าบรรยากาศในการโล้ชิงช้าก็จะได้จบลงเพียงเท่านี้ และหลัง อาหารค่ำก็จะทำการเก็บ เครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ เข้าไว้ที่เดิม หลังจากที่เก็บเครื่องเซ่นไหว้เหล่านี้แล้วถือว่าเสร็จสิ้นพิธีกรรมประเพณีโล้ชิงช้า




ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)


  • ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆของปกาเกอะญอ
วัฒนธรรมประเพณี
ชาวกะเหรี่ยงมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการทำพิธีกรรมเลี้ยงผี บวงสรวงดวงวิญญาณ ด้วยการต้มเหล้า ฆ่าไก่ – แกง และมัดมือผู้ร่วมพิธีด้วยฝ้ายดิบ ซึ่งเกี่ยวโยงกัน ประเพณีอื่นๆ ได้แก่
ประเพณีแต่งงาน
ผู้หญิงจะเป็นผู้เลือกคู่ครองเอง เจ้าสาวจะต้องทอเสื้อผ้า กางเกง ย่ามไว้ให้เจ้าบ่าว ทั้งเจ้าบ่าวเจ้าสาวต้องฆ่าหมูฆ่าไก่เพื่อทำพิธีกรรมบอกต่อผีบรรพบุรุษและเป็นอาหารเลี้ยงแขก แต่งงานแล้วฝ่ายชายต้องมาอยู่บ้านฝ่ายหญิง 1 ฤดูเก็บเกี่ยว ก่อนแยกไปปลูกบ้านใกล้กัน
เรื่องราวของการสู่ขอ (เอาะ เฆ) ของกะเหรี่ยง มีลักษณะดังนี้เมื่อเป็นที่รับรู้แล้วว่าหญิงชายรักชอบพอกัน พ่อแม่และญาติพี่น้องของฝ่ายหญิงก็จะส่งคนไปหาฝ่ายชาย เพื่อสอบถามให้แน่ใจว่าฝ่ายชายรัก และยินดีที่จะแต่งงานกับฝ่ายหญิงจริงหรือไม่ หากฝ่ายชายรักชอบพอกัน และยินยอมที่จะแต่งงานกับฝ่ายหญิง ก็จะมีการนัดหมายวันเวลาทำพิธีแต่งงานกันในเวลานั้น (ตามหลักประเพณีกะเหรี่ยงฝ่ายหญิงจะต้องเป็นฝ่ายไปขอฝ่ายชาย)
เมื่อฝ่ายชายตกลงปลงใจว่าจะแต่งงานกับฝ่ายหญิงและนัดหมายวันเวลาแต่งงานที่แน่นอนแล้วฝ่ายชายก็ส่งเถ้าแก่ไปทำพิธีหมั่นหมาย (เตอะ โหล่) ฝ่ายหญิงก่อนวันแต่งงานในพิธีฝ่ายหญิงจะฆ่าไก่ 2 ตัว ในการู่ทำอาหารเพื่อเลี้ยงรับรองเถ้าแก่ของ่ฝ่ายชายและวันรุ่งขึ้นก็จะนัดหมายวันเวลาท ี่ฝ่ายชายและเพื่อนๆ จะมาหาฝ่ายหญิงเพื่อทำพิธีแต่งงานต่อไป
ประเพณีปีใหม่
โดยหัวหน้าหมู่บ้านจะเป็นผู้ระบุวันล่วงหน้า แต่ละหมู่บ้านจะมีปีใหม่ในแต่ละปีไม่ตรงกัน เพราะเป็นพิธีที่หมายถึงการเริ่มต้นของฤดูกาลการเกษตร และอยู่เย็นเป็นสุข
ศาสนา ความเชื่อ และพิธีกรรม




http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/karen.html


เดิมชาวกะเหรี่ยงนับถือผี มีการบวงสรวงและเซ่นสังเวยอย่างเคร่งครัด ภายหลังหันมานับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ก็ยังคงความเชื่อเดิมอยู่ไม่น้อย เช่น ความเชื่อเรื่องขวัญหรือการทำกิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการเซ่นเจ้าที่เจ้าทาง และบอกกล่าวบรรพชนให้อุดหนุนค้ำจูน ช่วยให้กิจการงานนั้นๆ เจริญก้าวหน้า ทำเกษตรกรรมได้ผลผลิตดี ให้อยู่เย็นเป็นสุข ปกป้องคุ้มครองดูแล และยังเป็นการขอขมาอีกด้วย
กี่บะหน่าจึ (ปวาเกอญอ) หรือ พิธีทำขวัญให้ควาย
พิธีกรรมนี้ทำเฉพาะครอบครัวที่มีควายเท่านั้น และทำกันปีละครั้งเมื่อเสร็จจากฤดูไถหว่านของแต่ละปี ส่วนใหญ่วันที่ประกอบพิธีกรรมจะทำในวันพฤหัสบดี แต่ต้องทำก่อนที่จะหมดฤดูฝนในปีนั้นๆ ครอบครัวที่มีควายจะนัดหมายให้ลูกของตัวเองกลับมา แม้ว่าจะไปทำงานหรือเรียน ก็ต้องกลับมาทำพิธีนี้ แต่ถ้าหากว่าคนอื่นที่ไม่ได้รับคัดเลือกไปทำพิธี มีความเชื่อว่าจะทำให้ควายสุขภาพไม่ดี ตาบอด ไม่มีลูก เป็นโรค ล้มตายไป สำหรับคนที่จะทำพิธีนั้นจะต้องผ่านการคัดเลือก โดยคนที่มีความรู้ในการทำนาย ซึ่งการทำนายนี้มักจะใช้ข้าวสาร ใบไม้ ไข่ กระดูกไก่หรือบางทีก็ดูลายมือ หลังจากที่ได้ทราบผลการทำนายซึ่งผู้ที่ได้รับการคัดเลือกนั้น อาจเป็นเพศชายหรือหญิงก็ได้ โดยความเชื่อในเรื่องการทำขวัญให้ควายนั้น ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่า เพราะควายเป็นสัตว์ที่มีพระคุณและผูกพันธ์กันมานาน การทำขวัญให้ควายเป็นการแสดงความเคารพ ขอบคุณ ขออโหสิกรรม ตลอดจนถึงการอวยพรให้ควายมีสุขภาพแข็งแรง มีลูกดก ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเยือน

การทำพิธีกรรม เริ่มจากเตรียมเครื่องเซ่นให้พร้อม สำหรับไก่ 1 คู่ (ต้องฆ่าและต้มมาเรียบร้อยแล้ว) หลังจากนั้นผู้ประกอบพิธีกรรมก็จะถือเครื่องเซ่น ไปยังคอกที่มัดควายไว้ จากนั้นก็เอาวงฝ้ายที่เตรียมไว้เท่าจำนวนควายของตัวเองที่มีอยู่ไปกล้องที่เขาควายทั้งสองข้างของแต่ละตัว จนครบทุกตัว ถัดจากนั้นมาก็เอาเทียนไปสอดติดกับเขาควายที่เอาฝ้ายคล้องไว้ก่อนแล้ว หลังจากนั้นก็โปรยข้าวสาร และประพรมน้ำขมิ้นส้มป่อย ระหว่างที่พรมน้ำขมิ้นส้มป่อย ผู้เป็นพ่อจะสวดตามให้ด้วย ขั้นตอนสุดท้ายคือรินเหล้าให้ควาย อาจเทราดบนหัวควายก็ได้ เป็นอันเสร็จพิธี สำหรับไก่ที่นำมาประกอบพิธีกรรมนั้น ก็เอาไปทำกินในครอบครัว และเชิญญาติพี่น้องหรือเพื่อนบ้านที่สนิทกันมาร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน

"ถางซีไกงย" หรือ พิธีขับไล่สิ่งชั่วร้ายโรคภัยไข้เจ็บออกจากหมู่บ้าน
พิธีกรรมและความเชื่อของกระเหรี่ยงมีอยู่หลายพิธี แต่พิธีกรรมที่ทำสำหรับชาวบ้านทั้งหมู้บ้านก็เห็นจะมีอยู่พิธีเดียวคือพิธี “ถางซีไกงย” ซึ่งมีที่มาจากความเชื่อว่า หากชาวบ้านเจ็บป่วยพร้อมกันหลายๆ คน โดยไม่รู้สาเหตุของอาการป่วยนั้น และหรือความเชื่อที่ว่ามีสิ่งอัปมงคลเข้ามาในหมู่บ้าน ยกตัวอย่างเช่น หากไก่ป่าบินเข้ามาในหมู่บ้านก็จะเชื่อว่าเป็นลางไม่ดี ผู้นำและผู้อาวุโสของหมู่บ้านก็จักปรึกษากันเพื่อหาวิธีรักษาและป้องกัน เมื่อหารือจนได้ข้อสรุปแล้ว จึงกำหนดวันเพื่อทำพิธี ซึ่งกำหนดให้เป็นวันอังคารของเดือนไหนก็ได้ในปีที่เห็นว่ามีคนในหมู่บ้านเจ็บป่วยพร้อมกันมากจนผิดสังเกตุ การทำพิธีกรรมนี้ ต้องทำวันอังคารเท่านั้นเพราะเชื่อว่าเป็นวันแรง

การทำพิธีกรรม เริ่มจากชาวบ้านจะช่วยกันสานตะแกรงขึ้นมา 4 ใบ ที่บ้านของผู้นำประกอบพิธีกรรม เมื่อสานตะแกรงเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะนำไปแขวนไว้กลางลานบ้านผู้นำในลักษณะเรียงต่อกัน หลังจากนั้นชาวบ้านจะนำเครื่องประกอบพิธีกรรมห่อไว้ในใบสัก แล้วนำไปวางบนตะแกรงทั้งสี่ใบนั้น เมื่อถึงเวลา ซึ่งตามประเพณีแล้วจะกำหนดเวลาให้เป็นช่วงเย็นของวัน เมื่อถึงเวลา ผู้นำและผู้อาวุโสของหมู่บ้านจะเริ่มสวดขับไล่สิ่งชั่วร้าย โรคภัยไข้เจ็บ สิ่งอัปมงคลต่างๆให้ออกไปจากหมู่บ้าน เมื่อสวดเสร็จแล้วผู้นำและผู้อาวุโสที่สวดจะถ่มน้ำลายลงในตะแกรงทั้งสี่ใบ หลังจากนั้นลูกบ้านคนอื่นๆ ทั้งหมู่บ้านก็จะทยอยกันมาถ่มน้ำลายลงบนตะแกรงทั้งสี่จนครบทุกคน ส่วนผู้ที่ไม่ได้มาร่วมพิธีกรรม ก็จะบ้วนน้ำลายลงบนสำลี แล้วฝากให้คนในครอบครัวที่สามารถ ไปร่วมพิธีได้นำไปทิ้งบนตะแกรงทั้งสี่ เมื่อลูกบ้านร่วมพิธีเสร็จทุกคนแล้ว ก็จะมีตัวแทนของคนในหมู่บ้านช่วยกันหามตะแกรงทั้งสี่ใบนั้นไปทิ้งไว้ที่ทิศทั้งสี่ของหมู่บ้าน ระหว่างที่นำตะแกรงออกไป ผู้นำและผู้อาวุโสจะใช้ขี้เถ้าโปรยตามหลังตัวแทนก่อนที่จะออกจากบริเวณพิธี ด้วยเชื่อว่าขี้เถ้านั้นจะบังสิ่งชั่วร้าย อัปมงคลต่างๆ ไม่ให้ย่างกรายเข้าในหมู่บ้านอีกต่อไป

นี่ซอโค่ หรื พิธีขึ้นปีใหม่
วันขึ้นปีใหม่ ภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า นี่ซอโค่ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว วันขึ้นปีใหม่จะจัดปีละครั้งเท่านั้น เป็นวันที่สำคัญวันหนึ่งของชาวกะเหรี่ยง เพราะเหล่าญาติพี่น้องที่ได้แต่งงาน หรือจากบ้านไปทำงานที่อื่น จะกลับมาร่วมงานปีใหม่กันอย่างถ้วนหน้า
การทำพิธีกรรม เริ่มจากจัดเตรียมขนมหลายชนิด เช่น ข้าวเหนียวต้ม ข้าวปุ๊ก ข้าวหลาม เพื่อวันรุ่งขึ้นจะถวายแด่เทพเจ้า เตรียมเหล้า สำหรับประกอบพิธีและดื่มร่วมกัน ตกกลางคืนของก่อนวันขึ้นปีใหม่ ผู้นำศาสนาที่ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า "ฮี่โข่" จะทำการเรียกเหล่าชาวบ้านมาชุมนุม ในแต่ละบ้านจะส่งตัวแทนบ้านละหนึ่งคน คือ หัวหน้าครอบครัว (ต้องเป็นผู้ชาย) ตอนไปชุมนุมจะต้องเตรียมเหล้า บ้านละหนึ่งขวดไปยังบ้านของผู้นำศาสนา (ฮี่โข่) ด้วย เมื่อมาพร้อมกันทั้งคน และเหล้าแล้ว ฮี่โข่จะเริ่มทำพิธีกรรมพิธีกรรมนี้ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า พิธีกินหัวเหล้า (เอาะซิโค) โดยตอนแรกจะนำขวดเหล้ามารวมกัน โดยฮี่โข่จะทำการอธิษฐาน จากนั้นจะรินเหล้าลงในแก้ว แล้วให้คนที่มาร่วมพิธีดื่ม วิธีการดื่มคือ เอาขวดแรกของคนที่มาถึงก่อน ฮีโข่จะเอามาเทลงแก้ว แล้วฮี่โข่จะจิบเป็นคนแรก จากนั้นก็ให้คนต่อไปจิบต่อ จิบเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทุกคนที่มาร่วมงาน แล้ววนกลับมาถึงคิวฮี่โข่ ฮี่โข่จะทำการเททิ้งพร้อมอธิษฐานให้พร แด่เจ้าบ้านและครอบครัวของเจ้าของเหล้าขวดที่ได้เทไปแล้ว จะทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทุกขวดของทุกบ้านที่มาร่วมงาน บางครั้งบางทีหมู่บ้านไหนที่มีหลังคาเรือนเยอะอาจทำถึงเช้้าเลยก็ว่าได้
เช้าวันขึ้นปีใหม่ ชาวกะเหรี่ยงจะตื่นแต่เช้าแล้วมาฆ่าหมู ฆ่าไก่ เพื่อจะนำมาประกอบพิธีในวันรุ่งเช้า โดยเริ่มจากการนำไก่ที่ฆ่าแล้ว พร้อมเหล้าหนึ่งขวดมาตั้งที่ขันโตก เพื่อจะประกอบพิธีมัดข้อมือ หรือเรียกขวัญของลูกหลานในแต่ละบ้าน โดยผู้เฒ่าผู้แก่ในครอบครัวจะเป็นผู้ประกอบพิธีนี้ เวลานี้สมาชิกทุกคนในครอบครัวจะอยู่กันครบหน้า (คล้ายๆ กับการรดน้ำดำหัว) ผู้เฒ่าผู้แก่เริ่มมัดข้อมือลูกหลาน โดยจะนำไม้มาเคาะที่ขันโตก เพราะเชื่อว่า เป็นการเรียกขวัญของลูกหลานให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว จากนั้นก็มัดข้อมือพร้อมอธิษฐานให้พร ในคำอธิษฐานนั้น จะกล่าวให้ทุกคนในครอบครัวอยู่ดีมีสุข หลุดพ้นจากสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง หลังจากมัดข้อมือเสร็จแล้วจะรับประทานอาหารร่วมกัน พอรับประทานอาหารเสร็จ ก็จะออกตระเวนไปตามบ้านของแต่ละบ้านแต่ละครอบครัว เพื่อกินสังสรรค์กัน พร้อมรินเหล้าเพื่ออธิษฐาน และอวยพรให้ซึ่งกันและกัน จากนั้นจะเดินทางไปกินเหล้าทุกๆ บ้านในหมู่บ้าน และอวยพรให้ทุกบ้านมีแต่ความสุขไปด้วย พิธีขึ้นปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยงนั้นจะมีวันที่สำคัญที่สุด คือ วันแรก ส่วนวันอื่นๆ แล้วแต่ว่าอยากกินถึงวันไหน ซึ่งแล้วแต่แต่ละหมู่บ้านที่ได้จัดขึ้น หลังจากพิธีขึ้นปีใหม่ “นี่ซอโค่” เรียบร้อยแล้วก็เป็นช่วงเวลาที่จะ ต้องเริ่มต้นวิถีการทำมาหากินของปีถัดไป

ที่กล่าวมาทั้งหมดคือกะเหรี่ยงพุทธ หรือ "เอาะ แค" นอกจากนี้ยังมีกะเหรี่ยงอีกกลุ่ม คือ กะเหรี่ยงคริสต์ กะเหรี่ยงคริสต์จะมีพิธีกรรมที่คล้ายๆ กัน แต่จะทำในแบบ ศาสนาของตนเอง คือเข้าโบสถ์ อธิษฐานเสร็จ จะทานเข้าร่วมกัน จากนั้นจะมีการประมูลราคาข้าวของของแต่ละบ้านที่นำมาประมูลร่วมกัน หลังจากประมูลราคาสิ่งของเสร็จ ก็จะมีการจัดกลุ่มแข่งกีฬาพื้นบ้านชนิดต่างๆ ตกเย็นมีการแสดงละครสร้างความบรรเทิง จะไม่มีการกินเหล้า หรือเมามายในวันนี้ จากนั้นก็จะแยกย้ายกันกลับบ้านของตนเอง ในช่วงนี้จะมีการอธิษฐานทุกคืนจนครบ 7 คืน จึงจะถือว่าสิ้นสุดพิธีขึ้นปีใหม่

วันอีศเตอร์
วันอิสเตอร์เป็นวันที่พระเจ้าทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย ซึ่งมีหลักการนับวัน และเวลาอยู่ในช่วงวันอาทิตย์ หลังพระจันทร์เต็มดวงของวันที่ 21 เดือนมีนาคมของทุกๆ ปี ตามหลักที่พระคัมภีร์ที่ได้บัญญัติไว้ จึงทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องวันอิสเตอร์ เชื่อกันว่าพระเยซู์ยอมให้ทหารโรมันแห่งชนชาติอิสราเอลตรึงพระองค์บนไม้กางเขน เพื่อถ่ายบาปให้กับมนุษย์โลก หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ลงพระศพของพระองค์ถูกเคลื่อนย้ายเก็บไว้ในอุโมงค์ ก่อนที่จะนำไปฝัง หลังพระองค์สิ้นพระชนม์ได้สามวันพระองค์ได้ฟื้นคืนชีพในเช้ามืดของวันอาทิตย์

เหตุผลเชื่อกันว่าช่วงเวลาที่ศพของพระองค์ได้ถูกเก็บไว้ในอุโมงค์ มารีย์ หญิงชาวมักดาลา และสะโลเมเป็นสาวกของพระเยซู หญิงเหล่านี้จะตื่นแต่เช้ามืด เพื่อที่จะนำน้ำมันหอมมารินลงบนพระศพของพระองค์ เป็นการช่วยรักษาศพให้คงสภาพไม่เน่าเปื่อย ฉะนั้น เมื่อถึงวันอิสเตอร์คนปกากะญอจะตื่นแต่เช้ามืด เพื่อที่จะไปยังสุสานของแต่ละครอบครัว จะนำดอกที่เตรียมไว้นำไปเคารพศพของบรรพชนของตนเอง เมื่อทุกคนทำธุระของตัวเองเสร็จ ทุกคนในหมู่บ้านมาครบ อาจารย์ศาสนาจะเป็นผู้เริมกล่าวเปิด และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

กิจกรรมควานหาไข่
เป็นกิจกรรมที่เพลิดเพลิน เด็กๆ จะชอบเป็นพิเศษ เป็นกิจกรรมที่น่ารักอบอุ่น จะเห็นความพยายามของทุกคนที่ตั้งใจที่หาไข่ที่ซ่อนไว้ตามจุดต่างๆ บริเวณสุสานกิจกรรมนี้มีมาช้านานเป็นกิจกรรมที่สนุก และแฝงไปด้วยคติสอนใจ ความหมาย และที่มาที่ไปเล่ากันว่ามีแกะอยู่หนึ่งร้อยตัว แล้ววันหนึ่งมีแกะที่หลงหายไปหนึ่งตัว ซึ่งเป็นตัวที่เกเร และเจ้าของรักมากจึงออกตามหาจนเจอ เมื่อเจอจึงเกิดความชื่นชมยินดี ฉะนั้นการหาไข่ จึงเปรียบเสมือนการหาแกะที่หลงหายไปหนึ่งตัวนั้นเอง ซึ่งเป็นตำนานที่บรรพบุรุษชาวปากากะญอที่นับถือศาสนาคริสต์ ได้สืบทอดเป็นตำนานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่บัญญัติลงไว้ในพระคัมภีร์เพื่อเป็นสื่ออันสำคัญให้ลูกหลาน ได้ศึกษา และได้ปฏิบัติตาม ณ.เวลานี้เป็นระยะเวลากว่าร้อยกว่าปีที่มีการปฏิบัติกันมา และคาดหวังว่าจะมีสืบทอดกันไปในเจตนารมณ์ที่ดีงามตลอดไป

http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/karen.html




ข้อมูลโดยรวมเกี่ยวกับอำเภอแม่สรวย


ข้อมูลอำเภอแม่สรวยโดยรวม





ประวัติความเป็นมา
อำเภอแม่สรวยจัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอมาตั้งแต่ ร.ศ.๑๑๙ (พ.ศ.๒๔๔๔) มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพายัพ ภาคเหนือ และอยู่ในบริเวณเมืองเชียงใหม่ ตำนานกล่าวว่า ชื่อของอำเภอมาจากชื่อของแม่น้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้านและตำบลที่ตั้งของอำเภอ เดิมที่เรียกว่า “แม่ซ่วย” ซึ่ง “ซ่วย” เป็นภาษาพื้นเมือง หมายถึง “ล้าง” ต่อมาเรียกชื่อเป็น “แม่สรวย” เดิมที่ว่าการอำเภอแม่สรวย อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของดอยจอมแจ้ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุจอมแจ้งในเขตตำบลแม่สรวย ซึ่งมีแม่น้ำแม่สรวยไหลผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอและได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไป อยู่บริเวณหน้าวัดแม่พริก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๗ ได้มีหลวงดำรงฯ นายแขวงในขณะนั้นเห็นว่าที่ตั้งของที่ว่าการอำเภออยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสม และไม่สะดวกแก่ราษฎรในการติดต่อราชการประกอบกับในฤดูแล้งน้ำในลำห้วยแม่พริก แห้งขอดไม่พอใช้สอยในการเกษตร และการบริโภคจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลแม่พริก มาอยู่ที่บ้านแม่สรวย ตำบลแม่สรวย ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอแม่สรวยในปัจจุบัน
          เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๔ โดยมีประกาศเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้รวมเมือง เชียงแสน เมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย เมืองเชียงคำ เมืองเทิง เมืองเชียงของ ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า “เมืองเชียงราย” อยู่ในมณฑลพายัพ และจัดแบ่งการปกครองออกเป็น ๑๖ อำเภอ ๒ กิ่งอำเภอ แม่สรวยจึงมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
   ที่ตั้ง
อำเภอแม่สรวยตั้งอยู่ถนนเชียงราย-เชียงใหม่ ในบริเวณตำบลแม่สรวย ซึ่งอยู่ห่างจังหวัดเชียงรายไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา และป่าไม้ มีที่ราบระหว่างภูเขา อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ ๔๓๗ เมตร
   อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย และอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอแม่ลาว และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอไชยปราการ และอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

   สภาพภูมิประเทศ
อำเภอแม่สรวยมีพื้นที่ทั้งหมด ๘๙๒,๘๘๒ ไร่
- พื้นที่ราบ ๘๙,๓๓๑ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๙.๕๕ ของพื้นที่ทั้งหมด
- ภูเขา ๗๙๙,๒๑๗ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๘๙.๙๙ ของพื้นที่ทั้งหมด
- พื้นน้ำ ๔,๓๓๔ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๐.๔๖ ของพื้นที่ทั้งหมด
   สภาพภูมิอากาศ
อำเภอแม่สรวยได้รับอิทธิพลจากลมทะเลน้อยมาก เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ จึงทำให้อุณหภูมิและฤดูกาลแตกต่างกันมาก ดังนี้
ฤดูหนาว
ฤดูหนาวของอำเภอแม่สรวย เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ เมื่อลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าสู่ประเทศไทย หรือมีบริเวณความกดอากาศสูง หรือมีอากาศเย็นจากประเทศจีน แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยรวมระยะเวลานานประมาณ ๔ เดือน เป็นระยะเวลาเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว อากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่มาปกคลุมประเทศไทยเป็นระยะ ๆ ทำให้บริเวณอำเภอแม่สรวยมีอากาศหนาวจัด โดยเฉพาะบริเวณเทือกเขา ในเดือนกุมภาพันธ์ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนลงเป็นลำดับทำให้บริเวณอำเภอแม่สรวยมีอุณหภูมิสูงขึ้น และมีอากาศร้อนในตอนบ่าย ซึ่งเป็นการสิ้นสุดฤดูหนาวในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ และเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนต่อไปแต่ยังมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้าต่อไปในระยะหนึ่ง
ฤดูร้อน
ฤดูร้อนของอำเภอแม่สรวยเริ่มระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมอุณหภูมิสูง สุดในตอนบ่ายจะเริ่มขึ้นเกิน ๓๕.๐ องศาเซลเซียส แต่ในช่วงเช้าจะยังคงมีอากาศหนาวเย็นจนถึงประมาณเดือนมีนาคมลมที่พัดจาก ประเทศไทยเปลี่ยนจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมฝ่ายตะวันออก และลมฝ่ายใต้มากขึ้นโดยมีลมจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยพัดเข้าสู่ประเทศไทยใน ทางทิศใต้ และตะวันออก ประกอบกับจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำ เนื่องจากความร้อนปกคุมประเทศไทยตอนบนในช่วงฤดูร้อนทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าว และแห้งแล้งทั่วไป และอาจเกิดพายุฤดูร้อนขึ้นได้ในบางวัน โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมจนถึงเดือนเมษายน
ฤดูฝน
ฤดูฝนของอำเภอแม่สรวยเริ่มระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ประเทศไทยและร่องความกดอากาศต่ำเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณประเทศไทย และจะไปสิ้นประมาณกลางเดือนตุลาคม เป็นระยะเวลานานประมาณ ๕ เดือน จะมีฝนตกชุกในเดือนสิงหาคมและกันยายน ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะอ่อนกำลัง และจะเปลี่ยนเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนจะลดน้อยลงเป็นลำดับ
   การปกครอง
แบ่งการปกครองเป็น ๗ ตำบล ๑๒๕ หมู่บ้าน   เทศบาลตำบล ๒ แห่ง คือ
       ๑. เทศบาลตำบลแม่สรวย จำนวน ๒ หมู่บ้าน
       ๒. เทศบาลตำบลเจดีย์หลวง จำนวน ๗ หมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบล ๗ แห่ง คือ
       ๑. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สรวย จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน
       ๒. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่พริก จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน
       ๓. องค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย จำนวน ๑๒ หมู่บ้าน
       ๔. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ จำนวน ๒๗ หมู่บ้าน
       ๕. องค์การบริหารส่วนตำบลวาวี จำนวน ๒๕ หมู่บ้าน
       ๖. องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หลวง จำนวน ๔ หมู่บ้าน
       ๗. องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแดด จำนวน ๒๒ หมู่บ้าน
   ประชากร
ประชากร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ รวมทั้งสิ้น ๗๘,๘๙๐ คน เป็นชาย ๔๐,๓๒๒ คน หญิง ๓๘,๕๖๘ คน สำหรับตำบลที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่
ตำบลวาวีมีจำนวน ๒๑,๒๐๙ คน     ชนเผ่าต่าง ๆ ในพื้นที่อำเภอแม่สรวย ได้แก่ ๑. อีก้อ (อาข่า) ๒. มูเซอ (ลาหู่) ๓. ลีซอ (ลีซู) ๔. จีนฮ่อ ๕. กะเหรี่ยง ๖. ไทยพื้นราบ ๗. ไทยใหญ่ ๘. ไทยลื้อ จากสภาพดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้สภาพทางสังคมและวัฒนธรรมของประชากรในอำเภอแม่สรวย มีความหลากหลายและแตกต่างกันเป็
นอันมาก
   ข้อมูลการเลือกตั้ง
๑.   จำนวน เขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชียงรายเขต ๓ ร่วมกับ อำเภอเวียงป่าเป้า และตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๑ คน
๒.   จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ๒ เขต ๆ ละ ๑ คน
       เขตเลือกตั้งที่ ๑ ตำบลแม่สรวย ตำบลวาวี ตำบลแม่พริก
       เขตเลือกตั้งที่ ๒ ตำบลป่าแดด ตำบลศรีถ้อย ตำบลเจดีย์หลวง ตำบลท่าก๊อ
๓.  จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ๓๘,๗๖๕ คน ( ข้อมูลการเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๗ )
   สภาพสังคม
สถิติอาชญากรรมยาเสพติด
     ๑. อาชญากรรรมเฉลี่ยเดือนละ ๑ - ๒ คดี
     ๒. คดียาเสพติดเฉลี่ยเดือนละ ๑๕ -๒๐ คดี
     ๓. คดีเกี่ยวกับการจาราจรเฉลี่ยเดือนละ ๕ คดี
     ๔. คดีอื่น ๆ เฉลี่ยเดือนละ ๕ – ๑๐ คดี
   สภาพเศรษฐกิจ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของอำเภอแม่สรวย จะขึ้นอยู่กับผลผลิตทางการเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา ทำสวนพืชที่ปลูก เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ข้าวโพด มะเขือเทศ ขิง
กะหล่ำปลี ชา กาแฟ ผลไม้เมืองหนาว ไม้ดอก ไม้ประดับ ยาสูบ เป็นต้น ส่วนการเลี้ยงสัตว์มีเล็กน้อย เช่น เป็ด ไก่ สุกร โค กระบือ เป็นต้น รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน ประมาณ ๑๕,๐๐๐ บาท/ปี
   ข้อมูลการศึกษา
ข้อมูลสถานศึกษา
     ๑.โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๕๔ โรงเรียน
        ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ จำนวน ๒ โรงเรียน
        ระดับอนุบาล ๑ - มัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๑๑ โรงเรียน
        ระดับประถมศึกษา ๑ - ๖ จำนวน ๔๑ โรงเรียน
        โรงเรียนเอกชนระดับอนุบาล๑ - ๓ จำนวน ๑ โรงเรียน
        โรงเรียนเอกชนระดับอนุบาล – มัธยมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๑ โรงเรียน
๓.    ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน ๒๗ แห่ง
๔.    โรงเรียนสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โรงเรียน ตชด.ดอยล้าน เปิดสอนระดับ อนุบาล – ประถมศึกษา ๖
   ข้อมูลการสาธารณสุข
     ๑. โรงพยาบาลขนาด ๓๐ เตียง ๑ แห่ง
     ๒.. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ๑ แห่ง
     ๓. สถานีอนามัยประจำตำบลและหมู่บ้าน ๑๑ แห่ง
     ๔. หน่วยควบคุมโรคนำโดยแมลง ๑ แห่ง
     ๕. โรงกรองน้ำปะปาเทศบาลแม่สรวย ๑ แห่ง
   ข้อมูลด้านศาสนา
ราษฎรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ นิกายหินยาน และนอกจากนั้นยังนับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ บ้างเล็กน้อย โดยแบ่งแยกตามศาสนสถาน ได้ดังนี้
     ศาสนาพุทธ 
     จำนวนวัด มีทั้งหมด ๔๙ แห่ง
     วิสุงคามสีมา ๑๙ แห่ง
     ที่พักสงฆ์ ๒๐ แห่ง
     จำนวนพระสงฆ์ ๖๔ รูป
     จำนวนสามเณร ๑๑๕ รูป
     ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
     ๑. ศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดเจดีย์หลวง
     ๒. ศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดทุ่งฟ้าผ่า
ทำเนียบพระสังฆาธิการอำเภอแม่สรวย
 

ที่
ชื่อ-ฉายา
ตำแหน่ง
วัด
พระครูอดุลสีหวัตรเจ้าคณะอำเภอแม่สรวยกิติมศักดิ์พระธาตุจอมแจ้ง
พระครูรัตนวรโชติเจ้าคณะอำเภอแม่สรวยวัดหัวฝาย
พระมหาสุบรรณ มหาคมภิโรรองเจ้าคณะอำเภอแม่สรวยวัดเจดีย์หลวง
พระครูโอภาสธรรมโกศลเจ้าคณะตำบลแม่พริกกิตติมศักดิ์วัดทุ่งฟ้าผ่า
พระครูสุนทรศิลปาคมเจ้าคณะตำบลแม่สรวยวัดแม่สรวยหลวง
พระครูสังฆรักษ์พนม อริยวโสเจ้าคณะตำบลแม่พริกวัดแม่พริก
เจ้าอธิการกิตติกร กิตติโสภโณเจ้าคณะตำบลศรีถ้อยวัดดอยจ้อง
พระมหาจรินทร์ จิรวุฒิโฒเจ้าคณะตำบลป่าแดดวัดบ้านโป่ง
เจ้าอธิการสุพัฒน์ สุธมโมเจ้าคณะตำบลท่าก๊อวัดป่าสัก
๑๐
พระมหาอภิสิทธิ์เจ้าคณะตำบลเจดีย์หลวงวัดห้วยส้ม
๑๑
พระมหาจำลอง ภูริเมธีเลขานุการเจ้าคณะอำเภอแม่สรวยวัดร้องบง

ศาสนาคริสต์ 
     โบสถ์ ๒๐ แห่ง ผู้นับถือศาสนาคริสต์ประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน

ศาสนาอิสลาม
     มัสยิด ๑ แห่ง ( หมู่ที่ ๑ บ้านวาวี ต.วาวี) ผู้นับถือศาสนาอิสลามประมาณ ๓๐๐ คน

แหล่งท่องเที่ยว   อำเภอแม่สรวยเป็นอำเภอที่เป็นทางผ่านระหว่างถนนสายหลักเชียงราย-เชียงใหม่ ที่ตั้งของอำเภอแม่สรวยมีสภาพภูมิประเทศที่สวยงาม มีสภาพแวดล้อมและธรรมชาติเป็นป่าเขา ต้นน้ำลำธาร เหมาะสมกับการส่งเสริมให้เป็นเมืองท่องเที่ยว มีสภาพภูมิอากาศที่ เย็นสบายเกือบตลอดทั้งปี จึงมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกห้วยหาร น้ำตกห้วยหก ตำบลศรีถ้อย น้ำตกตาดหลวง ตำบลป่าแดด น้ำตกห้วยน้ำอุ่น น้ำตกผาแดงหลวง ตำบลวาวี ถ้ำแม่สรวย ตำบลแม่สรวย ยอดดอยช้างซึ่งเป็นสถานที่ชมทัศนียภาพของเมืองเชียงราย รวมทั้งหมู่บ้านพื้นเมืองและหมู่บ้านชาวเขา ที่ควรค่าแก่การท่องเที่ยวเยี่ยมชม ได้แก่ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตพื้นบ้าน กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ ตำบลป่าแดด วิถีชีวิตหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่าง ๆ จำนวน 36 หมู่บ้าน 114 หย่อมบ้าน ซึ่งมีผลผลิตและกิจกรรมเด่นๆหลากหลาย และมีสวนเกษตรที่น่าสนใจเข้าเยี่ยมชม ได้แก่
 ตำบลท่าก๊อ มีไร่ม่อนดินแดง ไร่แม่ข้าวเม่า โครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น 
 ตำบลป่าแดด มีโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ 
 ตำบลวาวี มีสถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี(ดอยช้าง) สวนส้มดอยเงิน และสวนชาวาวี 
 ตำบลศรีถ้อย มีสวนส้มต่าง ๆ

นอกจากนี้ยังมีข้าวโพดหวานขายริมทางสำหรับคนเดินทางผ่าน เส้นทางสาย เชียงราย – เชียงใหม่ บ้านตีนดอย ตำบลแม่สรวยซึ่งถือเป็นเสน่ห์และศักยภาพทางธรรมชาติของอำเภอแม่สรวย โดยทางอำเภอได้กำหนดทิศทางการพัฒนาหรือวิสัยทัศน์การพัฒนาให้อำเภอแม่สรวยเป็นแดนดินถิ่นเกษตรการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่

๑. ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


























ตั้งอยู่บนทางหลวงสายเชียงราย-เชียงใหม่ กิโลเมตรที่ ๑๒๙ - ๑๓๐ ห่างจากเชียงราย ๕๒ กิโลเมตรเนื้อที่ ๖๙ ไร่ สันนิษฐานว่า เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๑๔๗ วันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม ๖ ค่ำ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จยกกองทัพออกจากกรุงศรีอยุธยา จะไปตีเมืองอังวะ แล้วได้เสด็จตั้งค่ายพักบริเวณที่ตั้งศาลฯปัจจุบัน และจากข้อสันนิษฐานตามประวัติศาสตร์ดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จประกอบพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ที่ตั้งศาลฯปัจจุบัน ในบริเวณด้านหน้าทางเข้าศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทางอำเภอแม่สรวยได้จัดสร้าง “ลานค้าอำเภอแม่สรวย” เพื่อเป็นลานค้าลานวัฒนธรรมของชาวอำเภอแม่สรวย เป็นศูนย์รวมสินค้าหัตถกรรม วัฒนธรรมพื้นบ้านและชาวเขา เป็นศูนย์สินค้าการเกษตรของดีอำเภอแม่สรวย เป็นศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวพร้อมอาหารเครื่องดื่ม สำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยวได้แวะสักการะศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แวะชมและซื้อสินค้าของฝากของที่ระลึกตามซุ้มต่าง ๆ ตลอดทั้งเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในหมู่บ้านซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอแม่สรวย
  
http://findthailand.com/wp-content/uploads/2016/01/cs3-1.jpg



https://www.youtube.com/watch?v=Fo3BJmLlXQk


๒. โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
















































http://www.kingsiam.com/Photo_Item/display/il_8973.jpg

เป็นโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ลาวฝั่งซ้าย หมู่ที่ ๙ ตำบลป่าแดด เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าอาข่า ประมาณ ๒๕ ครอบครัว อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่สรวย ระยะทาง ๓๙ กิโลเมตร บนเนื้อที่ ๑๕,๐๐๐ ไร่ บริเวณหมู่บ้านเป็นที่ราบหุบเขาต้นน้ำลำธาร จัดสร้างบ้านให้อยู่อาศัยตามวิถีชีวิตของชาวเขา พร้อมที่ดินทำกินให้ครอบครัวละประมาณ 5 ไร่ มีที่ทำนา เลี้ยงปลา ปลูกพืชผัก ผลไม้เมืองหนาว เลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหาร มีธนาคารข้าว อาคารศิลปาชีพ การศึกษาในระบบนอกโรงเรียน ให้การเรียนรู้ด้านการดำรงชีพกับธรรมชาติแวดล้อม ส่งเสริมการปลูกป่า ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า ทำไร่เลื่อนลอย มุ่งเน้นการอนุรักษ์ป่าไม้เพื่อให้คนอยู่กับป่าได้อย่างสมดุล และเป็นหมู่บ้านนำร่องเพื่อเป็นแบบอย่างกับหมู่บ้านบนพื้นที่สูงอื่นต่อไป



๓. ถ้ำแม่สรวย































http://www.chiangraifocus.com/2012/gallery/largePictures/26-1262687502.jpgตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลแม่สรวย ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่สรวยประมาณ ๔ กิโลเมตร อยู่ติดกับโครงการอ่างเก็บน้ำแม่สรวย ความงดงามของถ้ำอยู่ที่หินงอก หินย้อย มีลักษณะเป็นห้องคูหาลาดต่ำบ้าง สูงบ้างสนับซับซ้อนเรียงรายรูปลักษณะสวยงามวิจิตรพิสดารตามจินตนาการของผู้ชม มีเส้นทางเดินเลาะเลี้ยว ขึ้นลง บางจุดต้องปีนบันได และมีเส้นทางเดินชมเป็นวงรอบ นับเป็นการเดินทางที่ท้าทายนักท่องเที่ยวมาก

๔. สถานีทดลองเกษตรพื้นที่สูงวาวี(ดอยช้าง)


























http://www.greenwaytour.com/myimg/TR120001[00].jpg

ตั้งอยู่ที หมู่ที่ ๓ บ้านดอยช้าง ตำบลวาวี ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่สรวย ๒๑ กิโลเมตร เป็นสถานีทดลองการเกษตรพื้นที่สูง จุดประสงค์เพื่อการพัฒนาชาวเขาให้มีการเพาะปลูกพืชผักผลไม้ ลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้ปลูก กาแฟ ข้าว บ๊วย มะคาเดเมีย ลิ้นจี่ และพืชผลดอกไม้เมืองหนาว บนยอดดอยช้างมีทิวทัศน์ที่สวยงาม มองดูทัศนียภาพเมืองเชียงรายได้อย่างสวยงาม
อย่างสวยงามประทับใจ เห็นยอดเขาสลับซับซ้อน บริเวณสถานีมีสวนไม้ดอก ไม้ประดับ สำนักสงฆ์ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ และบ้านชาวเขาเผ่าอาข่า ลีซู จีนฮ่อ อยู่กันเป็นหย่อม ๆ อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี มีที่พักและที่ชมวิวสำหรับนักท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ กาแฟสดอะลาบิก้าจากยอดดอยช้าง เป็นสถานที่สวยงามเหมาะสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อีกแห่งหนึ่ง


๕. หมู่บ้านวาวีและบ้านเลาลี (หมู่บ้านสวนชา)









http://chiangraiairportthai.com/uploads/profiles/0000000007/filemanager/images/%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B5_01.jpg



























http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2009/01/E7447949/E7447949-1.jpg

เป็นหมู่บ้านปลูกชาแหล่งสำคัญของตำบลวาวี ตั้งอยู่ถนนสายตีนดอย-วาวี-ฝาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่สรวยประมาณ ๕๐ กม. มีโรงงานอบใบชา และเป็นแหล่งปลูกชาที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอแม่สรวย ประกอบด้วยชาพันธุ์พื้นเมือง ชาจีน ชาชีลอนพันธุ์ต่าง ๆ ที่พิเศษ คือ ชาพันธุ์ซิงซิง อูหลง หรือพันธุ์มังกรดำ หมู่บ้านทั้ง ๒ แห่ง อยู่ติดกันเป็นชุมชนใหญ่ เป็นที่รวมของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ และชาวจีนฮ่ออพยพ ชนเผ่าต่าง ๆ อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีอาชีพหลัก คือการเกษตรกรรม วัฒนธรรมประเพณีของเผ่าชนสามารถผสมกลมกลืนกันได้เป็นอย่างดี คือเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่หมู่บ้านเลาลี มีสถานที่พักผ่อนชมทิวทัศน์ อาหารจีนเลิศรส ห้องพักสะดวกสบาย แวดล้อมด้วยสวนชา มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมของเผ่าชนเป็นประจำทุกคืน สามารถเดินทางท่องเที่ยวต่อไปยังอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ได้อย่างสะดวกสบาย และมีจุดท่องเที่ยวระหว่างเส้นทางอีกหลายแห่ง

https://www.youtube.com/watch?v=oqliGGmv2J0

๖. โครงการหลวงห้วยน้ำขุ่นและศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงห้วยน้ำขุ่น



























http://wiki.moohin.com/pic/0/39/39888/2.jpg

ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยน้ำขุ่น ตำบลท่าก๊อ วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อส่งเสริมการเกษตร และเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอแม่สรวย มีทิวทัศน์ที่สวยงามเป็นภูเขาสูง มีชาวเขาอาศัยหลายเผ่าพันธุ์ เช่น อาข่า ลาหู่ เมี่ยน จีนฮ่อ ส่วนใหญ่ส่งเสริมการปลูกผลไม้เมืองหนาว มีสาลี่ พลับ พลัม ชา และมีการปลูกข้าว และเลี้ยงสัตว์ หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปเที่ยวก็สามารถที่จะขึ้นไป โดยรถยนต์โฟร์วิล ที่ปากทางหมู่บ้านแม่ต๋ำ ตำบลท่าก๊อ ระยะเวลาการเดินทางประมาณ ๑.๓๐ ชม.

  

ข้อมูลการด้านวัฒนธรรม
ในพื้นที่อำเภอแม่สรวยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมากอันเนื่องมาจาก มีชนเผ่าต่าง ๆ หลายเผ่าพันธ์ ประชากรพื้นราบส่วนใหญ่จะเป็นคนพื้นเมือง มีความสัมพันธ์ภายในครอบครัวอย่างแน่นแฟ้น มีภาษาพูดซึ่งเรียกว่า “ภาษากำเมือง” เป็นเอกลักษณ์ของคนทางเหนือ มีประเพณีที่สำคัญ เช่น ประเพณีลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ประเพณีแห่เทียนพรรษา และนอกจากนี้มีประเพณีที่สำคัญของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในอำเภอแม่สรวย เช่นประเพณีโล้ชิงช้าของชาวเขาเผ่าอีก้อ ประเพณีกินวอของชาวเขาเผ่าลาหู่(มูเซอ) เป็นต้น
การดำเนินงานด้านวัฒนธรรมในพื้นที่อำเภอแม่สรวยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนในพื้นที่
วัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของชนเผ่าต่าง ๆ ควรที่จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้เป็นจุดขายเรื่องการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ

 โบราณสถาน วัดพระธาตุจอมแจ้ง
 โบราณวัตถุ พระเจ้าทองทิพย์ วัดบ้านโป่ง ต.ป่าแดด
 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและของเด็กเล่นตำบลป่าแดด
 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและของเด็กเล่นตำบลป่าแดด




ข้อมูลจากสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย

 https://sites.google.com/site/land4salesinmaesuay/khxmul-xaphex-maesrwy-canghwad-cheiyngray



แผนที่อำเภอแม่สรวย





http://www.chiangraifocus.com/2010/images/map/ef5u3ZEXfw.gif


http://www.chiangraifocus.com/2010/images/map/ef5u3ZEXfw.gif